สเตนเลสกับการเดินรถระบบราง

สเตนเลสกับการเดินรถระบบราง

By datamonkey
เมษายน 18, 2018 7:11 am

สเตนเลสกับการเดินรถระบบรางถูกนำมาใช้ในครั้งแรก เมื่อ ปี 1912 โดยที่ขบวนแรกถูกออกแบบด้วยสเตนเลสทั้งหมด และนำมาใช้ ให้บริการขนส่งบริเวณแถบภูเขาร็อกกี้ ในประเทศแคนนาดาโดยบริษัท Budd สำหรับในสภาวะอุณหภูมิที่รุนแรงและในสภาพการทำงานบริเวณ เทือกเขาร็อกกี้ ทำให้สเตนเลสได้แสดงคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมออกมาเป็นที่ ประจักษ์ ว่าสเตนเลสเป็นวัสดุที่มีความเหมาะสมเป็นพิเศษกับ อุตสาหกรรมรถระบบราง ซึ่งในเวลาต่อมาก็มีบริษัทรายอื่นๆ ที่ดำเนิน ธุรกิจการเดินรถระบบราง ได้เปลี่ยนมาใช้สเตนเลสสำหรับการผลิตตัว รถรางเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ดี สเตนเลส สตีลก็กลายเป็นวัสดุมาตรฐานสำหรับ การผลิตรถระบบรางทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น และยังมี แนวโน้มความนิยมมาจนถึงปัจจุบันนี้ การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในด้านประดิษฐกรรมสเตนเลส และการคำนึงถึงความสำคัญเกี่ยวกับ สเตนเลสกับการเดินรถระบบราง ต้นทุนวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ที่มากขึ้นก็ยังคงดำเนินต่อไป จึงทำให้ สเตนเลสเป็นวัสดุที่น่านำมาใช้ในงานสำหรับรถระบบราง ทว่าทั่วโลก ก็ยังมีปริมาณสเตนเลสที่นำไปใช้งานที่น้อยกว่าปกติอยู่

ในปัจจุบันนี้สเตนเลสถูกนำมาใช้ในหลายส่วนบริการของรถ ระบบราง เช่น Regional, Commuter, Metro, Underground และ Light-rail train ในทั้งหมดของบริการที่กล่าวมานี้ ก็ยังให้ความไว้วางใจ ให้สเตนเลสเป็นวัสดุทางเลือกอันดับหนึ่ง ด้วยเหตุผลที่ว่า มีความ ต้านทานต่อการกัดกร่อน ทนทาน ปลอดภัยต่ออัคคีภัย ทำความสะอาด ง่าย ดูแลรักษาสะดวก และมีภาพลักษณ์ที่สวยงาม ทั้งหมดคือคำตอบว่าทำไมสเตนเลสจึงเหมาะสมกับการเดินรถระบบราง

แม้ว่าในยุคสมัยนี้จะมีเกรดของสเตนเลสมากกว่า 200 เกรด ในตลาด แต่ก็มีเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ถูกมาใช้ในการผลิตรถระบบ ราง ด้วยคุณสมบัติทางเทคนิคที่สูงของเกรดเหล่านี้ (ตามตารางด้านล่าง) จึงถูกนำมาใช้งานได้โดยง่าย ตารางสแตนเลส

ซึ่งมีสเตนเลสกลุ่มออสเทนนิติกอยู่บางเกรดที่เรารู้จักกันนั้น มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะ คือ เมื่อนำไปผ่านกระบวนแปรรูปต่างๆ เช่น การดัด การพับ หรือการขึ้นรูป ณ. อุณหภูมิปรกติ หรือที่เรียกว่า “การขึ้นรูปเย็น” แล้วทำให้มีความแข็งเพิ่มขึ้น ซึ่งความแข็งที่เพิ่มขึ้นนี้ สามารถทำให้โรงงานออกแบบ-ผู้ผลิตในส่วนโครงสร้างของตัวรถราง สามารถลดความหนาของสเตนเลสลง หรือทำให้มันมีน้ำหนักเบาลง นั่นเอง และด้วยคุณสมบัติอื่นๆ ที่ดีเยี่ยมอย่าง Crash Performance ที่สเตนเลสสามารถดูดซับกำลังงานจำนวนมากในขณะเกิดอุบัติเหตุ เพราะว่าในระหว่างที่วัตถุเกิดการเสียรูป วัสดุจะค่อยๆ เพิ่มความแข็ง ในขณะที่กำลังรักษาระดับคุณสมบัติการอ่อนน่วมให้สูงเพียงพอ เพื่อ ป้องกันการแตกหักของวัตถุ

ส่วนรูปลักษณ์ภายนอกของสเตนเลสนั้น สามารถใช้งานได้ ทนทานต่อการกัดกร่อนนานหลายปีและยังสามารถทำผิวให้สวยงามด้วย การปัดและขัดเงาตามวิธีต่างๆ ในกระบวนการขัดผิว ข้อดีต่างๆ ที่มี อยู่นี้ จึงทำให้ผู้ดำเนินธุรกิจรถระบบรางสามารถรวมอายุการใช้งานที่ ยืนยาวและการบำรุงรักษาที่ง่ายของส่วนที่บรรทุกสินค้า เข้ากับลักษณะ ของการใช้งานและลักษณะการตกแต่งที่เป็นพิเศษได้

ที่มา : สมาคมพัฒนาสเตนเลสไทย (TSSDA)

กลับหน้าหลัก

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า